<!--[if !supportLineBreakNewLine]--> ข้อมูลที่ได้มาจะต้องผ่านการประมวลผลให้ได้เป็นสารสนเทศก่อน จึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์วิธีการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องแบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล เช่นข้อมูลตัวอักษรซึ่งเป็นชื่อหรือข้อความก็อาจต้องมีการเรียงลำดับและข้อมูลตัวเลขก็อาจต้องมีคำนวณ จากนั้นจึงทำสรุปได้เป็นสารสนเทศออกมา
ถ้าข้อมูลที่นำมาประมวลผลมีจำนวนมากจนเกินความสามารถของมนุษย์ที่จะจัดการได้ในเวลาอันสั้นก็จำเป็นจะต้องนำคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บและประมวลผลเมื่อข้อมูลอยู่ภายในคอมพิวเตอร์การแก้ไขหรือเรียกค้นสามารถทำได้สะดวกและรวดเร็วขณะเดียวกันการทำสำเนาและการแจกจ่ายข้อมูล ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานของประเทศต่างๆทั่วโลก อยู่ที่การใช้สารสนเทศเป็นส่วนใหญ่แนวโน้มของระบบจัดการข้อมูลของยุคนี้เริ่มเปลี่ยนจากระบบงานการประมวลผลแบบกลุ่มมาเป็นระบบตอบสนองทันทีที่เรียกว่า การประมวลผลแบบเชื่อมตรง ( online processing ) เช่นการฝากถอนเงินของธนาคารต่างๆ ผ่านเครื่องรับ -จ่ายเงินอัตโนมัติหรือระบบเอทีเอ็ม ( Automatic Teller Machine : ATM )
ขณะที่ประเทศต่างๆยังอยู่ในยุคของการประมวลผลสารสนเทศในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้
( knowledge - base processing ) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่ายรู้จักตอบสนองกับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับสูงด้วยการเก็บสะสมฐานความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้างการให้เหตุผลเพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน
การประมวลผลฐานความรู้เป็นการประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI ) ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่หุ่นยนต์ ( robot ) และระบบผู้เชี่ยวชาญ ( expert system ) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
ขณะที่ประเทศต่างๆยังอยู่ในยุคของการประมวลผลสารสนเทศในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นได้พัฒนาเข้าสู่การประมวลผลฐานความรู้
( knowledge - base processing ) โดยให้คอมพิวเตอร์ใช้ง่ายรู้จักตอบสนองกับผู้ใช้ และสามารถแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยการตัดสินใจระดับสูงด้วยการเก็บสะสมฐานความรู้ไว้ในคอมพิวเตอร์ และมีโครงสร้างการให้เหตุผลเพื่อนำความรู้มาช่วยแก้ปัญหาที่สลับซับซ้อน
การประมวลผลฐานความรู้เป็นการประยุกต์หลักวิชาด้านปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI ) ที่รวบรวมศาสตร์หลายแขนง คือ คอมพิวเตอร์จิตวิทยา ปรัชญา และภาษาศาสตร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างชิ้นงานประเภทนี้ได้แก่หุ่นยนต์ ( robot ) และระบบผู้เชี่ยวชาญ ( expert system ) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เป็นระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและการอนุมัติให้กู้ยืมเงิน
<!--[endif]-->
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น